ไฟล์ภาพ jpeg คือ

หัวข้อ

ไฟล์ภาพ jpeg คือ

ไฟล์ภาพ jpeg คือ เป็นไฟล์รูปที่มีมาอย่างยาวนาน เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) พัฒนาโดยกลุ่ม Joint Photographic Experts Group (ย่อได้ว่า JPEG นั่นเอง) ด้วยความสามารถในการบีบอัดไฟล์รูปให้มีขนาดเล็กลงจากเดิมหลายเท่า ทำให้มันได้รับความนิยมสูงมากมาจนถึงปัจจุบัน

การบีบอัดไฟล์ของ JPEG อาศัยประโยชน์จากการรับรู้ของมนุษย์ มันสามารถบีบอัดไฟล์ได้ที่อัตรา 1:10 โดยที่ผู้ชมจะแทบไม่รู้สึกถึงความแตกต่างเลย (ความจริงสามารถบีบอัดเพื่อลดขนาดได้มากกว่านั้นอีก แต่คุณภาพก็จะแย่ตามไปด้วย)

โดยหลักการคร่าวๆ ของไฟล์รูปภาพตระกูล JPEG นี้จะใช้การเฉลี่ยค่าสีจากพิกเซลที่อยู่ใกล้เคียงกัน เพื่อลดปริมาณข้อมูลที่ใช้ในการสร้างภาพ

อย่างที่กล่าวไว้ย่อหน้าที่แล้วว่า JPEG ใช้หลักการบีบอัดโดยเฉลี่ยค่าสีของพิกเซล ทำให้มันเหมาะกับภาพที่มีค่าสีหลากหลาย และมีสีระหว่างรอยต่อพิกเซลที่ราบรื่น เช่น ภาพถ่ายวิวทิวทัศน์, รูปศิลปะ ฯลฯ แต่ถ้าเป็นภาพที่มีค่าสี Contrast ระหว่างพิกเซลต่างกันมากๆ การบีบอัดด้วยเทคนิคที่ JPEG ใช้จะได้ผลลัพธ์ออกมาที่ไม่ค่อยดีนัก เช่น ภาพที่มีตัวอักษรบนพื้นสีโล่งๆ หรือลายเส้น ลองสังเกตในภาพด้านล่าง รอบๆตัวอักษรจะมีความเบลอเกิดขึ้นอย่างชัดเจน

อีกปัญหาหนึ่งของไฟล์ JPEG คือ มันจะมีการบีบอัดทุกครั้งที่เกิดการบันทึก ซึ่งการบันทึกซ้ำไม่กี่สิบครั้งนั้นแทบจะมองไม่เห็นความแตกต่าง แต่หากเราทดสอบที่ 500 ครั้ง 1,000 ครั้ง ผลลัพธ์จะแตกต่างไปจากเดิมอย่างชัดเจน

JPEG กับ JPG ต่างกันไหม ไฟล์ภาพ jpeg คือ

ไฟล์ภาพ jpeg คือ คำถามที่หลายคนน่าจะสงสัยว่า JPEG กับ JPG เหมือนกันหรือเปล่า คำตอบง่ายมาก มันคือไฟล์ตระกูลเดียวกัน ต่างกันแค่จำนวนตัวอักษรเท่านั้นแหละ (JPEG มี 4 ตัว และ JPG มี 3 ตัว)

เรื่องนี้ต้องย้อนไปสมัย MS-DOS 8.3 ที่ใช้ระบบไฟล์แบบ FAT-16 ที่อนุญาตให้ตระกูลไฟล์นั้นมีจำนวนตัวอักษรได้สูงสุดแค่ 3 ตัวอักษรเท่านั้น ในขณะที่ระบบปฏิบัติการที่เป็น UNIX อย่าง Mac หรือ Linux จะไม่มีข้อจำกัดนี้

ผลก็คือ Mac และ Linux จะบันทึกไฟล์ในชื่อตระกูล .jpeg แต่พอมาบันทึกบน Windows ก็จะโดนย่อเหลือแค่ .jpg แน่นอนว่า Windows ทุกวันนี้พัฒนาจนไม่มีข้อจำกัดแบบนั้นแล้ว

ไฟล์ PNG

 ข้อดี

  • บีบอัดไฟล์แบบ Lossless ไม่สูญเสียคุณภาพเดิมไปจากต้นฉบับ
  • รองรับการทำพื้นหลังแบบโปร่งใส (Transparency)
  • แสดงผลตัวอักษร หรือภาพ Screenshot ได้ดีเยี่ยม
  • รองรับภาพเคลื่อนไหว (นามสกุล Animated Portable Network Graphics (APNG))

ข้อเสีย

  • ไม่รองรับ EXIF แบบ Native
  • ไฟล์มีขนาดใหญ่กว่า JPEG

ไฟล์ภาพ jpeg คือ ไฟล์ PNG ย่อมาจาก Portable Network Graphics ใช้วิธีการบีบอีดไฟล์แบบ DEFLATE ที่ไม่มีการสูญเสียข้อมูลระหว่างบีบอัด (Lossless) ทำให้ไฟล์รูป PNG มีคุณภาพสูงกว่า JPEG และคมชัดกว่าอย่างชัดเจน แต่แน่นอนว่าขนาดไฟล์เองก็มีแนวโน้มที่จะใหญ่กว่าด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ PNG คือ รองรับภาพที่มีพื้นหลังโปร่งใสด้วย (Transparent) ล่ะ

ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างภาพทัชมาฮาล ภาพบนบันทึกแบบ JPEG ส่วนภาพล่างบันทึกแบบ PNG จะเห็นว่าทั้งสองภาพใกล้เคียงกันมาก แต่ขนาดไฟล์ต่างกันเกือบ 5 เท่า แม้ไฟล์จะใหญ่กว่า แต่ไฟล์ PNG ก็คมชัดกว่ามาก สังเกตว่ารอบๆ ขอบตัวอักษรไม่มีสัญญาณรบกวนเหมือนกับ JPEG ดังนั้นหากต้องการบันทึกไฟล์พวกโลโก้, ข้อความ หรือภาพถ่าย ที่ต้องการเน้นคุณภาพเป็นหลัก PNG ก็เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า JPEG ครับ

ไฟล์ PNG มี 2 เวอร์ชันนะ

ไฟล์ PNG จะมีอยู่ 2 เวอร์ชัน คือ PNG-8 ที่แสดงผลได้ 256 สี และ PNG-24 ที่แสดงผลได้กว่า 16 ล้านสี ด้วยความแตกต่างนี้ หากเราเลือกใช้งานไฟล์ PNG ตอนบันทึกไฟล์ก็ต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย

  • PNG-8 รองรับค่าสีแบบ 8 บิต แต่ก็เหมารวมถึง PNG ที่มีค่าสีต่ำกว่านี้ด้วยเช่น 2 บิต หรือ 4 บิต
  • PNG-24  รองรับค่าสีแบบ 24 บิต รองรับค่าสีได้กว่า 16 ล้านสี
  • PNG-8 จึงเหมาะกับภาพที่มีจำนวนสีน้อย และรายละเอียดไม่ซับซ้อน ส่วน PNG-24 เหมาะสำหรับภาพที่มีรายละเอียดเยอะ และขอบเขตสีมาก
  • ภาพที่เป็น PNG-8 สามารถบันทึกใหม่เป็น PNG-24 ได้โดยไม่สูญเสียรายละเอียด แต่ถ้าเปลี่ยนจาก PNG-24 เป็น PNG-8 รายละเอียดสีจะถูกลดทอนลง

ไฟล์รูป GIF

ข้อดี

  • รองรับการทำภาพเคลื่อนไหว (ได้รับความนิยมสูงกว่า APNG มาก)
  • นิยมใช้ทำแบนเนอร์โฆษณา และ Meme ต่างๆ
  • รองรับการทำพื้นหลังแบบโปร่งใส (Transparency)

 ข้อเสีย

  • หากใช้กับภาพที่มีรายละเอียดสูง จะมี Noise เยอะ

ไฟล์ GIF เป็นไฟล์ที่บีบอัดแบบ Lossless เหมือนกับ PNG ซึ่งอันที่จริงแล้ว PNG ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานแทนที่ GIF นี่แหละ ด้วยความนิยมของ PNG ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ตอนนี้ GIF เหลือหน้าที่หลักแค่ใช้ในการทำภาพอนิเมชัน (แต่ก็เริ่มถูกแทนที่ด้วย APNG และ HTML5 แล้วนะ)

เดิมทีในทางเทคนิคแล้ว GIF จะแสดงผลได้สูงสุดแค่ 256 สี เท่านั้น แต่ต่อมาก็พัฒนาให้สามารถค่าสีได้มากกว่านั้น ถึงแม้ว่าจะไม่นิยมใช้ภาพ GIF ในงานที่ให้ความสำคัญกับสีก็เถอะ ด้วยการแบ่งภาพออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนจะมีค่าสีเฉพาะของตนเองอยู่ 256 สี (หากหักสีโปร่งใสออกไปก็จะเหลือ 255 สี) แต่การทำแบบนี้จะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่าเดิม

เทคนิคที่ GIF ใช้ในการบีบอัดแม้จะเป็น Lossless แต่ด้วยปัญหาทางเทคนิคที่จะมีพิกเซลโปร่งใสในค่าสี จะทำให้เกิดรอยหยักตามขอบพิกเซล (Jagged effect) โดยจะเห็นชัดมากในภาพที่มีเส้นโค้ง หรือรายละเอียดเยอะๆ สังเกตภาพทัชมาฮาลด้านล่างนี้ จะสังเกตเห็นได้ว่า Noise ค่อนข้างเยอะ ในขณะที่ภาพที่รายละเอียดต่ำ หรือตัวอักษร ยังมีความคมชัดไม่ต่างจาก PNG มากนัก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง